เมนู

แก่ข้าพระองค์แต่โดยย่อ. มีความหมายว่า มม (ของเรา, ของข้าพเจ้า, ของฉัน,
ของข้าพระองค์) ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขอเธอทั้งหลาย
จงเป็นธรรมทายาทของเราตถาคตเถิด. แต่ในที่นี้ประกอบในอรรถ 2 อย่าง
คือ อันข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว และการฟังมาของข้าพเจ้า ก็ในที่นี้ เม ศัพท์
ทั้ง 3 อย่าง แม้ถ้าจะปรากฏในความหมายอย่างเดียวกัน เพราะในเมื่อ
ควรจะกล่าวอย่างนี้ว่า บุคคลใดไม่ใช่บุคคลอื่น บุคคลนั้นก็คือตัวเราก็กลับ
เป็นไปในสันดานของตนกล่าวคือเกิดภายในตนไซร้ ถึงกระนั้น เม ศัพท์
นั้นก็ยังมีความหมายที่แตกต่างกันนี้อยู่แล กล่าวคือ แตกต่างกันโดยเป็น
ตติยาวิภัตติและจตุตถีวิภัตติเป็นต้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เม ศัพท์
ปรากฏในความหมาย 3 อย่าง.

อธิบาย สุตะศัพท์


สุตะ ศัพท์ ในบทว่า สุตํ นี้ ที่มีอุปสรรคก็มี ที่ไม่มีอุปสรรคก็มี
แตกต่างโดยความหมายเป็นอเนกมีอาทิ คือ คมนะ. (การไป) วิสสุตะ (ฟัง)
กิลินนะ (เปียกชุ่ม) อุปจิตะ (สั่งสม) อนุยุตตะ (ตามประกอบ, บำเพ็ญ)
สุตวิญเญยยะ (รู้ได้ทางโสตะ) โสตทสารานุสาริวิญญาตะ (รู้ได้ตามกระแส
แห่งโสตทวาร) อธิบายว่า อุปสรรคเป็นตัวขยายกิริยา (ให้มีความหมาย)
พิเศษออกไปก็จริง ถึงกระนั้น เมื่ออุปสรรคนั้น แม้มีอยู่ เพราะขยายความ
ให้ สุตะ ศัพท์นั่นแล ก็ยังกล่าวถึงความหมายนั้น ๆ อยู่ เพราะเหตุนั้น
ในการยกความหมายของ สุตะ ศัพท์ที่ไม่มีอุปสรรคขึ้นมา (เป็นตัวอย่าง)
ท่านจึงยกเอาสุตะศัพท์ทีมีอุปสรรคขึ้นมา (เป็นตัวอย่าง) ด้วย. ในสุตะศัพท์
นั้นมีความหมายดังต่อไปนี้
1. มีความหมายว่า ไปในประโยคเป็นต้นว่า ไปในกองทัพ.

2. มีความหมายว่า ผู้ฟังธรรมแล้วในประโยคเป็นต้นว่า ผู้มีธรรม
ที่ได้ฟังแล้ว เห็น (ธรรม) อยู่.
3. มีความหมายว่า ผู้เปียกชุ่มด้วยกิเลสยินดีการถูกต้องกายของผู้ชาย
ผู้เปียกชุ่มด้วยกิเลส ในประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุณีสุนทรีนันทา ผู้อันราคะ
ราดรดแล้ว ยินดีการถูกต้องกายของชายผู้ถูกราคะราดรดแล้ว.
4. มีความหมายว่า สั่งสมในประโยคเป็นต้นว่า บุญเป็นอัน ท่าน
ทั้งหลาย สั่งสมไว้แล้ว มิใช่น้อย.
5. มีความหมายว่า บำเพ็ญฌานในประโยคเป็นต้นว่า นักปราชญ์
เหล่าใด บำเพ็ญฌาน.
6. มีความหมายว่า รู้แจ้งได้ทางโสตประสาทในประโยคเป็นต้นว่า
รูปอารมณ์ที่ได้เห็นแล้ว สัททารมณ์ที่ได้ฟังแล้ว คันธารมณ์ รสารมณ์ และ
โผฏฐัพพารมณ์ที่ได้ทราบแล้ว.
7. มีความหมายว่า ทรงจำไว้ซึ่งอารมณ์ที่รู้แจ้งตามแนวแห่งโสต-
ทวารในประโยคเป็นต้นว่า บุคคลผู้เป็นพหูสูตทรงจำสิ่งที่ได้ฟังมาแล้วสั่งสม
สิ่งที่ได้ฟังมาแล้วไว้.
แต่ในที่นี้ สุตะ ศัพท์นั้น มีความหมายว่า ทรงจำไว้แล้วตามแนว
แห่งโสตทวาร หรือ การทรงจำไว้ตามแนวแห่งโสตทวาร ก็เมื่อ เม ศัพท์
มีความหมายเท่ากับ มยา (อันข้าพเจ้า) จึงมีเนื้อความว่า อันข้าพเจ้าได้ฟัง
มาแล้วอย่างนี้ คือ อันข้าพเจ้าทรงจำไว้แล้วตามแนวแห่งโสตทวาร เมื่อ เม
ศัพท์มีความหมายเท่ากับ มม (ของข้าพเจ้า) จึงมีเนื้อความว่า การฟังของ
ข้าพเจ้า คือ การทรงจำไว้ตามแนวแห่งโสตทวาร เป็นอย่างนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในบททั้ง 3 นี้อย่างนี้ว่า เพราะเหตุที่ อิติ ศัพท์นั้น
พึงเป็นศัพท์ที่อมความหมายของ สุต ศัพท์ไว้ และพึงเป็นศัพท์ที่ขยายความ
ของกิริยาคือ การฟัง ฉะนั้น บทว่า อิติ จึงแสดงถึงหน้าที่ของวิญญาณเป็นต้น.
บทว่า เม แสดงถึงบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณดังกล่าวแล้ว. แม้ทุกพากษ์
(ทุกประโยค) จึงประกอบด้วยความหมายของ เอวํ ศัพท์นั่นเอง เพราะมี
อวธารณะเป็นผล. ด้วยเหตุนั้น บทว่า สุตํ จึงเป็นคำแสดงถึงการรับเอามา
ไม่บกพร่อง และไม่ผิดพลาดเพราะปฏิเสธภาวะ คือ การไม่ได้ฟัง. เปรียบ-
เหมือนว่า สิ่งที่ได้ฟังมาแล้วย่อมควรเป็นสิ่งที่จะพึงพูดว่า ได้ฟังมาแล้วฉันใด
การฟังมาด้วยดีนั้น จึงเป็นการรับเอามาไม่บกพร่อง และเป็นการรับเอามา
ไม่ผิดพลาด ฉันนั้นดังนี้. อีกประการหนึ่ง (พึงทราบว่า) ศัพท์ ย่อมบอก
ความหมาย โดยไม่ให้หลงไปในความหมายของศัพท์อื่น. เพราะเหตุที่ บทว่า
สุตํ นี้ มีความหมายดังนี้ว่า ไม่ได้ฟังมาหามิได้ ฉะนั้น บทว่า สุตํ จึงชื่อว่า
แสดงการรับเอามาไม่บกพร่อง และไม่วิปริต เพราะปฏิเสธภาวะ คือ การ
ไม่ได้ฟัง. มีคำอธิบายดังนี้ว่า เราได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ คือ เราไม่ได้เห็นเอง
ไม่ได้ทำให้แจ้ง ด้วยสยัมภูญาณ หรือไม่ใช่ได้มาโดยประการอื่น และการ
ฟังนั้นก็เป็นการฟังด้วยดีทีเดียว. อีกอย่างหนึ่ง อิติ ศัพท์ ที่มีอวธารณะเป็น
อรรถ (ความหมายห้ามเนื้อความอื่น) มีการ (อธิบาย) ประกอบความดัง
พรรณนามานี้ เพราะเหตุนั้น สุตะศัพท์ ซึ่งเพ่งถึง อิติ ศัพท์นั้น จึงมี
ความหมายว่า กำหนด (แน่นอน) เพราะฉะนั้น นักศึกษาพึงทราบการที่สุตะ
ศัพท์ ปฏิเสธภาวะคือการไม่ได้ฟัง และการที่สุตะศัพท์แสดงการรับเอามา
ไม่บกพร่องและไม่วิปริต.
นักศึกษาพึงเห็นว่า ท่านแต่งอรรถโยชนา ของบททั้ง 3 (เอวมฺเม

สุตํ) ด้วยอำนาจเหตุแห่งการฟังและความแปลกกันแห่งการฟังดังพรรณนามา
นี้. อนึ่ง บทว่า อิติ ชื่อว่า ประกาศถึงภาวะคือความเป็นไปในอารมณ์มี
ประการต่าง ๆ เพราะวิญญาณวิถีทีเป็นไปตามแนวแห่งโสตทวารรับเอาอรรถ
และพยัญชนะต่าง ๆ กัน เพราะทำการอธิบายว่า อิติ ศัพท์ มีความหมาย
ถึงอาการ. บทว่า เม ประกาศถึงตน. บทว่า สุตํ ชื่อว่า ประกาศถึงธรรม
เพราะวิญญาณวิถีตามที่กล่าวแล้วมีปริยัติธรรมเป็นอารมณ์.
ก็ในบทนี้มีความย่อดังต่อไปนี้ว่า ข้าพเจ้า (พระอานนทเถระ.) มิได้
ทำสิ่งอื่น คือ ข้าพเจ้าได้ฟังธรรมนี้ ด้วยวิญญาณวิถีที่เป็นไปในอารมณ์มี
ประการต่าง ๆ อันเป็นตัวเหตุ. อนึ่ง บทว่า อิติ ชื่อว่า ประกาศถึงสิ่งที่ได้
แสดงมาแล้ว เพราะสิ่งที่จะพึงแสดงก็ไม่มีภาวะที่จะพึงแสดง (อีก) เพราะ
อธิบายว่า อิติ ศัพท์ มีนิทัสสนะเป็นอรรถ. เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า
ท่านเท้าถึงสูตรทั้งหมดด้วยอิติศัพท์. บทว่า เม ประกาศถึงบุคคล บทว่า
สุตํ ประกาศถึงกิจของบุคคล. ก็กิริยาคือการฟังที่ได้มาด้วยเสียงที่ได้ยินมา
เกี่ยวเนื่องผูกพันอยู่กับสวนวิญญาณ (วิญญาณในการฟัง) ก็ในธรรมประพันธ์
(การเอ่ยถึงธรรม) ที่ประกอบด้วยการกล่าวถึงบุคคลนั้น ย่อมได้กิริยา คือ
การฟัง. บทนั้นมีความย่อดังนี้ว่า ข้าพเจ้า (พระอานนทเถระ) จักแสดงอ้าง
สูตรใด สูตรนั้นข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
อนึ่ง บทว่า อิติ เป็นบทมีการรับเอาอรรถและพยัญชนะต่าง ๆ
กัน เพราะความเป็นไปแห่งจิตสันดานใดที่มีอารมณ์ต่าง ๆ กัน . บทว่า อิติ
ก็แสดงถึงอาการต่าง ๆ กัน แห่งจิตสันดานนั้น เพราะทำอธิบายว่า อิติศัพท์
มีความหมายถึงอาการ. ด้วยว่าศัพท์ อิติ นี้ ชื่อว่า เป็นการบัญญัติถึงอาการ
เพราะธรรมทั้งหลายมีสภาวะที่จะต้องบัญญัติ โดยอาศัยอาการคือความเป็นไป
นั้น ๆ. บทว่า เม แสดงถึงกัตตา. บทว่า สุตํ แสดงถึงอารมณ์. เพราะ

ว่าธรรมที่จะต้องฟังย่อมเป็นฐานให้บุคคลผู้ทำเป็นไปด้วยอำนาจ กิริยา คือ
การฟัง ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ เป็นอันท่านแสดงถึงการตกลงใจในการรับ
อารมณ์ของผู้ทำผู้พรั่งพร้อมด้วยกิริยา คือ การฟังนั้น ด้วยจิตสันดานที่เป็น
ไปแล้ว โดยประการต่าง ๆ.
อีกประการหนึ่ง บทว่า อิติ แสดงถึงกิจของบุคคล อธิบายว่า
จริงอยู่ ธรรมดาว่ากิจของบุคคลเป็นอันพระอานนทเถระ แสดงแล้วด้วยอิติ
ศัพท์ที่มีภาวะประกาศอรรถว่า นิทัสสนะ หรือว่า อวธารณะ ที่มีอาการแห่ง
ธรรมทั้งหลายที่ได้ฟังมาแล้ว อันตนรับไว้แล้ว เพราะการทรงจำอาการนั้น
เป็นต้นไว้ เป็นความขวนขวายในธรรม ด้วยการยึดมั่น ในโวหารว่าบุคคล.
บทว่า สุตํ แสดงถึงกิจของวิญญาณ. อธิบายว่า จริงอยู่ กิริยา คือ การฟัง
แม้ของผู้มีวาทะว่า บุคคลจะไม่เพ่งถึงวิญญาณก็หามิได้. บทว่า เม แสดง
ถึงบุคคลผู้ประกอบด้วยกิจทั้งสอง. อธิบายว่า จริงอยู่ ก็ความเป็นไปของศัพท์
ว่า เม มีธรรมอันวิเศษที่ไม่ฟังมาแล้วเป็นอารมณ์ โดยส่วนเดียวเท่านั้น
และกิจของวิญญาณก็พึงตั้งลงในอารมณ์นั้นนั่นแล. แต่ในที่นี้มีความย่อดังนี้
ว่า อันข้าพเจ้า(พระอานนทเถระ) คือ อันบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณที่มี
หน้าที่ฟัง ได้ฟังมาแล้ว ด้วยสามารถแห่งวิญญาณที่ได้โวหารว่า ผู้มีหน้า
ที่ฟัง.
อนึ่ง บทว่า อิติ และบทว่า เม เป็นอวิชชมานบัญญัติด้วยอำนาจ
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แห่งความหมายที่แจ่มแจ้งและความหมายที่ยอดยิ่ง เพราะ
ว่า ความหมายที่จะพึงเข้าใจได้ด้วยเสียงทั้งหมดก็ดี บัญญัติทั้งมวลเพราะจะ
ต้องปฏิบัติตามแนวทางแห่งการบัญญัตินั่นเองก็ดี ย่อมมีความไม่ขัดแย้งกันใน
บัญญัติทั้ง 6 นั่นแหละ มีวิชชมานบัญญัติเป็นต้น เพราะเหตุนั้น ความหมาย
อันใดเป็นความหมายที่ไม่มีอยู่จริง เหมือนมายากลและพยับแดดเป็นต้น และ

ไม่ใช่เป็นความหมายที่ไม่สูงสุด เหมือนอย่างความหมายที่ต้องรับไว้ด้วยการฟัง
กันสืบ ๆ มาเป็นต้น ความหมายเป็นปรมัตถสภาวะมีสัททรูปคือเสียงเป็นต้น
และมีการแตกสลาย มีการเสวยอารมณ์เป็นต้น มีอยู่ด้วยอำนาจสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์.
ส่วนความหมายอันใดมีความหมายถึงอาการเป็นต้น ที่กำลังกล่าวอยู่ว่า อิติ
และว่า เม ความหมายอันนั้นมิใช่ปรมัตถสภาวะ คือ ไม่ได้ด้วยอำนาจสัจ-
ฉิกัฏฐปรมัตถ์ ชื่อว่า อวิชชมานบัญญัติ. ถามว่า บรรดาบททั้ง 3 นี้ บท
ใดพึงได้การแสดงอ้างว่า อิติ หรือว่า เม บทนั้นมีอยู่โดยปรมัตถ์หรือ ?
ตอบว่า บทว่า สุตํ เป็นวิชชมานบัญญัติ. อธิบายว่าอารมณ์ที่ได้รับทาง
โสตประสาทนั้น มีอยู่โดยปรมัตถ์.
อนึ่ง บทว่า อิติ จัดเป็นอุปทายบัญญัติ เพราะจะพึงกล่าวด้วย
อำนาจการพาดพิงถึงอาการทั้งหลาย มีอาการที่ทรงจำไว้เป็นต้นเหล่านั้นได้ก็
โดยอาศัยธรรมทั้งหลายที่มากระทบโสต. บทว่า เม ชื่อว่า เป็นอุปาทาย-
บัญญัติ เพราะจะต้องพูดถึง โดยอาศัยขันธ์ทั้งหลายที่นับเนื่องในสันตติ ซึ่งที่
สูงสุดโดยพิเศษมีการณะเป็นต้น. บทว่า สุตํ ชื่อว่าเป็นอุปนิธายบัญญัติ
เพราะจะต้องพูดถึง โดยเปรียบเทียบกันอารมณ์ทั้งหลายมีรูปที่ได้เห็นเป็นต้น
โวหารว่า สุตะ แม้เป็นไปในสัททายตนะ ที่เว้นจากสภาวะของรูปที่ได้เห็น
เป็นต้น จะต้องพูดถึงโดยเปรียบเทียบกับรูปที่ได้เห็นเป็นต้น เพราะเป็นสิ่งที่
พึงทราบชัดว่า สิ่งใดไม่มุ่งถึงรูปที่ได้เห็น กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ได้ทราบ
และอารมณ์ที่ได้รู้แจ้ง สิ่งนั้นจัดเป็นสุตะ1 เปรียบเหมือนโวหารว่า ทุติยฌาณ
ตติยฌาณเป็นต้น จะต้องพูดถึงโดยอาศัยปฐมฌานเป็นต้น ฉะนั้น เพราะเหตุ
นั้น ท่านจึงประกาศเนื้อความนี้ไว้ว่า ชื่อว่า สุตะ เพราะไม่ใช่ ไม่ได้ฟังมา.

1 แปลตามเชิงอรรถ

อนึ่ง ในที่นี้ ท่านแสดงถึงความไม่หลงลืมออกมาด้วยคำว่า อิติ.
อธิบายว่า ประการที่แตกต่างกันออกไปแห่งความหมายที่ ท่านพระอานนท์
พาดพิงถึงในบทว่า อิติ นี้ท่านแทงตลอดแล้ว ความไม่หลงลืมของท่านจึง
เป็นอันท่านแสดงแล้วด้วยคำว่า อิติ นั้น . เป็นความจริง คนหลงลืมย่อมไม่
สามารถแทงตลอดประการต่าง ๆ ได้. ประการต่าง ๆ คือ การละโลภะเป็น
ต้น และประการที่แทงตลอดไว้ไม่ดี ท่านแสดงไว้ว่าเป็นสุตะ. ท่านแสดง
ความไม่เลอะเลือนด้วยคำว่า สุตะ เพราะอาการแห่งสุตะเป็นอาการที่เห็นอยู่
ตามความเป็นจริง. จริงอยู่ ผู้ใดมีสุตะหลงลืมแล้ว ผู้นั้นย่อมปฏิญญาไม่ได้ว่า
เราได้ฟังมาแล้วในกาลอื่น เพราะความไม่หลงลืม เพราะไม่มีความหลงลืม
หรือเพราะปัญญาที่เกิดในเวลาฟังของพระอานนท์นั้นเอง จึงมีความสำเร็จ
แห่งปัญญาในกาลอื่นจากนั้น ดังพรรณนามาฉะนี้. อนึ่ง เพราะความไม่เลอะ
เลือน จึงมีความสำเร็จแห่งสติ. บรรดาปัญญากับสติทั้งสองนั้น เพราะสติที่
เป็นตัวนำปัญญา จึงมีความสามารถทรงจำพยัญชนะไว้ได้. เพราะว่าอาการ
แห่งพยัญชนะทั้งหลายที่จะพึงแทงตลอด ไม่ลึกซึ้งยิ่งนัก การทรงจำไว้ตามที่
ได้ฟังมานั่นแล เป็นกรณียกิจในเรื่องนั้น เพราะเหตุนั้นความปรากฏของสติ
จึงเป็นของสำคัญ. ปัญญาเป็นคุณ (หนุน) ในข้อนั้น เพราะเหตุที่สติเป็นตัวนำ
ของปัญญา. เพราะปัญญาเป็นตัวนำของสติ จึงมีความสามารถในการแทง
ตลอดความหมายได้. เพราะว่า อาการแห่งความหมายที่จะพึงแทงตลอดเป็น
ของลึกซึ้ง เพราะเหตุนั้น ความขวนขวายของปัญญาจึงเป็นของสำคัญ. สติ
เป็นตัวคุณธรรมในข้อนั้น เพราะเหตุที่ปัญญาเป็นตัวนำของสติ เพราะ
ประกอบด้วยความสามารถทั้งสองนั้น (พระอานนท์) จึงมีความสำเร็จแห่ง
ความเป็นพระธรรมภัณฑาคาริก(พระขุนคลังธรรมะ) เพราะท่านสามารถตาม
รักษาคลังพระธรรมที่สมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะได้.

อีกนัยหนึ่ง พระอานนท์ แสดงการทำไว้ในใจโดยแยบคาย ด้วย
คำว่า อิติ เพราะอรรถแห่ง อาการะ นิทัสสนะ และ อวธารณะที่กล่าวไว้
ด้วยคำว่า อิติ นั้นซึ่งจะกล่าวถึงข้างหน้า อันส่องถึงการแทงตลอด โดย
ประการต่าง ๆ เป็นอรรถไม่วิปริต ก็มีสัทธรรมที่ไม่วิปริตเป็นอารมณ์
อธิบายว่า การแทงตลอด (ธรรม)โดยประการต่าง ๆ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่
ใส่ใจโดยแยบคาย. พระอานนท์ แสดงความไม่ฟุ้งซ่านด้วยคำว่า สุตํ.
การฟังสูตรที่กำลังกล่าวอยู่ ซึ่งจัดเป็นปกรณ์ด้วยอำนาจนิทานและปุจฉา เว้น
สมาธิเสียย่อมไม่มี เพราะบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่านจะฟังไม่ได้. เป็นความจริง
บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน แม้อันพระธรรมกถึกกล่าวอยู่ด้วยสมบัติทั้งปวง ก็มัก
กล่าวว่า ข้าพเจ้ามิได้ฟัง นิมนต์พระคุณเจ้ากล่าวซ้ำอีก. อนึ่ง ในที่นี้บุคคล
จะให้อัตตสัมมาปณิธิ และปุพเพกตปุญญตาสำเร็จได้ก็ด้วยโยนิโสมนสิการ
เพราะบุคคลผู้มิได้ตั้งตนไว้ชอบ หรือผู้มีได้ทำบุญไว้ในชาติปางก่อนจะมีโยนิ-
โสมนสิการนั้นไม่ได้ บุคคลจะให้สัทธัมมัสสวนะ และสัปปุริสูปัสสยะสำเร็จได้ก็
ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน เพราะบุคคลผู้มีได้สดับธรรม และผู้เว้นจากการเข้าไป
นั่งใกล้สัตบุรุษ จะมีความไม่ฟุ้งซ่านนั้นไม่ได้. เป็นความจริง บุคคลผู้มีจิต
ฟุ้งซ่านจะไม่สามารถฟังพระสัทธรรมได้เลย. และบุคคลผู้ไม่เข้าไปนั่งใกล้
สัตบุรุษจะไม่มีการฟัง (ธรรม) เลย.
อีกนัยหนึ่ง เพราะจิตสันดานใดเป็นไปโดยอาการต่าง ๆ กัน จึงมี
การรับ (เข้าใจ) อรรถและพยัญชนะต่าง ๆ ได้ อิติศัพท์ท่านจึงกล่าวว่าเป็น
ศัพท์แสดงอาการต่าง ๆ ของจิตสันดานนั้น. ก็เพราะเหตุที่อาการแห่งพระ-
ดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่งามอย่างนี้ ที่เป็นเหตุให้ประโยชน์ของผู้อื่น
บริบูรณ์ได้ครบถ้วน โดยทำให้ผู้อื่นนั้นหยั่งลงสู่ความสมบูรณ์แห่งพระศาสนา
ทั้งหมด ด้วยการกำหนดประเภทแห่งอรรถและพยัญชนะได้ ย่อมไม่มีแก่บุคคล

ผู้มิได้ตั้งตนไว้ชอบ หรือผู้มีได้ทำบุญไว้ในชาติปางก่อน ฉะนั้น พระอานนท์
จึงแสดงความถึงพร้อมแห่งจักร 2 ข้อหลังของตน โดยอาการอันงามด้วยคำ
นี้ว่า อิติ. พระอานนท์แสดงความถึงพร้อมแห่งจักร 2 ข้อข้างต้น เพราะ
ประกอบด้วยการฟัง ด้วยคำว่า สุตํ. อธิบายว่า การฟัง (ธรรม) ย่อมไม่มี
แก่บุคคลผู้อยู่ในประเทศที่ไม่สมควร หรือผู้เว้นจากการเข้าไปนั่งใกล้สัตบุรุษ
เพราะจักร 2 ข้อหลังของพระอานนท์นั้นสำเร็จ ความบริสุทธิ์แห่งอาสยะ
จึงเป็นอันสำเร็จด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้ บุคคลผู้ตั้งตนไว้ชอบ และ
ทำบุญไว้ในชาติปางก่อน ชื่อว่าเป็นผู้มีอาสยะบริสุทธิ์ เพราะกิเลสทั้งหลาย
ที่เป็นเหตุให้อาสยะไม่บริสุทธิ์นั้นอยู่ไกล. สมจริง ด้วยพระดำรัสที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ตรัสไว้อย่างนี้ว่า
จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบแล้ว พึงทำ
บุคคลนั้นให้ประเสริฐกว่า เหตุนั้น

และว่า ดูก่อนอานนท์ เธอเป็นผู้ที่ได้ทำบุญไว้แล้ว ขอเธอจงหมั่นประกอบ
ความเพียรเถิด ไม่ช้าก็จักได้เป็นผู้ไม่มีอาสวะ. เพราะจักร 2 ข้างต้นสำเร็จ
ความบริสุทธิ์แห่งปโยคะก็เป็นอันสำเร็จด้วย. อธิบายว่า พระอานนท์ชื่อว่า
เป็นผู้มีปโยคะอันบริสุทธิ์ โดยสาธุชนทั้งหลาย ถือเอาเป็นเยี่ยงอย่างได้ เพราะ
การอยู่ในประเทศอันสมควร และเพราะการเข้าไปนั่งใกล้สัตบุรุษ ก็เพราะ
อาสยะบริสุทธิ์นั้น ความฉลาดในอธิคมสำเร็จได้ ก็เพราะเครื่องเศร้าหมอง
คือตัณหา และทิฏฐิถูกชำระให้บริสุทธิ์แล้วในกาลก่อนนั่นแล. เพราะปโยคะ
บริสุทธิ์ ความฉลาดในอาคมจึงสำเร็จได้. อธิบายว่า พระอานนท์มีกาย
ปโยคะ และวจีปโยคะบริสุทธิ์ มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน เพราะไม่มีวิปปฏิสาร จึงเป็น
ผู้แกล้วกล้าในปริยัติ ถ้อยคำของพระอานนท์ ผู้มีปโยคะและอาสยะบริสุทธิ์
ผู้สมบูรณ์ด้วยอาคมและอธิคม ดังว่ามานี้ สมควรที่จะเป็นคำนำแห่งพระดำรัส

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนอรุณขึ้น ควรมีมาก่อนพระอาทิตย์ขึ้น
และโยนิโสมนสิการควรเกิดขึ้นก่อนกุศลกรรม เพราะเหตุนั้น พระอานนท์
เมื่อจะตั้งนิทาน (คำเบื้องต้น) ในที่อันควร จึงกล่าวคำว่า อิติ เม สุตํ
เป็นต้นไว้.
อีกนัยหนึ่ง พระอานนท์แสดงการเกิดมีแห่งสมบัติ คือ อัตถปฏิสัม-
ภิทา และปฏิภาณปฏิสัมภิทาของตน ด้วยคำว่า อิติ นี้ ที่แสดงถึงการแทงตลอด
โดยประการต่างๆ ตามนัยที่กล่าวแล้วในกาลก่อน. พระอานนท์แสดงการเกิด
มีแห่งสมบัติ คือ ธรรมปฏิสัมภิทา และนิรุตติปฏิสัมภิทา ด้วยคำว่า สุตํ นี้
ที่แสดงถึงการแทงตลอดที่แตกต่างจากสิ่งที่ควรสดับ เพราะอมความของอิติ-
ศัพท์ไว้ หรือเพราะมุ่งถึงเรื่องที่กำลังกล่าว. อนึ่ง พระอานนท์กล่าวคำนี้ว่า
อิติ ที่แสดงถึงโยนิโสมนสิการ ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล จึงเท่ากับแสดงว่า
ธรรมเหล่านี้ข้าพเจ้าตามเพ่งด้วยใจ ขบคิดแล้วด้วยทิฏฐิ. อธิบายว่า ปริยัติธรรม
ทั้งหลาย ที่บุคคลตามเพ่งด้วยใจ โดยนัยเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสศีลไว้ในสูตรนี้ ตรัสสมาธิไว้ในสูตรนี้ ตรัสปัญญาไว้ในสูตรนี้ ในสูตรนี้
มีอนุสนธิเท่านี้ ที่บุคคลกำหนดรูปธรรมและอรูปธรรม ที่กล่าวไว้ในสูตร
นั้น ๆ ด้วยดี โดยนัยเป็นต้นว่า รูปเป็นอย่างนี้ รูปมีเท่านี้ แล้วขบคิดด้วยทิฏฐิ
อันเกี่ยวเนื่องกับการตรึกตรองไปตามอาการที่ได้ฟังสืบ ๆ มา อันเป็นตัวทน
ต่อการเพ่งพินิจ (พิสูจน์) แห่งธรรมหรือกล่าวคือ เป็นญาตปริญญา ย่อมนำ
ประโยชน์เกื้อกูล และความสุขมาให้ทั้งแก่ตนและบุคคลอื่นแล. พระอานนท์
เมื่อกล่าวคำว่า สุตํ นี้ ที่แสดงถึงการประกอบในการฟัง จึงเท่ากับแสดงว่า
ธรรมเป็นอันมาก อันข้าพเจ้าพึงทรงจำได้ สั่งสมไว้ด้วยวาจาแล้ว (สาธยาย)
อธิบายว่า การฟัง การทรงจำ และการสั่งสมปริยัติธรรมไว้ เกี่ยวเนื่องกับการ
เงี่ยโสตลงสดับ. พระอานนท์ แสดงความบริบูรณ์แห่งอรรถและพยัญชนะ

โดยภาวะที่ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วทั้งสองนั้น จึงทำให้
(ผู้ฟัง) เกิดความเอื้อเฟื้อในการฟัง. จริงอยู่ บุคคลเมื่อไม่ฟังธรรมที่บริบูรณ์
ด้วยอรรถและพยัญชนะ ย่อมเป็นผู้เหินห่างจากประโยชน์เกื้อกูลใหญ่ เพราะ
เหตุนั้น นักศึกษาพึงทำความเอื้อเฟื้อให้เกิดแล้ว ฟังธรรมเถิด.
ก็ด้วยคำทั้งหมดนี้ว่า อิติ เม สุตํ ท่านพระอานนท์เมื่อไม่ตั้ง
ธรรมวินัยที่พระตถาคตเจ้าประกาศแล้วเพื่อตนเอง ชื่อว่าก้าวสู่ภูมิของ
อสัตบุรุษ เมื่อปฏิญญาความเป็นพระสาวก ชื่อว่า ก้าวลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ
ด้วยประการนั้น ท่านพระอานนท์ ชื่อว่า ยังจิตให้ออกจากอสัทธรรม
ชื่อว่า ยังจิตให้สถิตอยู่ในสัทธรรม. อนึ่ง ท่านพระอานนท์ เมื่อแสดงว่า
คำนั้นคือพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล อันข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว
ทั้งหมดทีเดียว ชื่อว่า เปลื้องตน อ้างพระศาสดา แนบแน่นคำของพระชินเจ้า
ตั้งเป็นแบบธรรมเนียมไว้. อนึ่ง ด้วยคำว่า อิติ เม สุตํ ท่านพระอานนท์
เมื่อไม่ปฏิญญาว่า ธรรมตนเองให้เกิดขึ้น เปิดเผยคำพูดเริ่มต้น (ปุริมพจน์)
ว่า คำนี้ อันข้าพเจ้ารับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้
แกล้วกล้าด้วยเวสารัชชญาณ 4 ผู้ทรงไว้ซึ่งทสพลญาณ ผู้ทรงดำรงอยู่ในฐานะ
แห่งบุคคลผู้องอาจ ผู้ทรงมีปกติบันลือสีหนาทผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ ผู้ทรง
เป็นพระธรรมิศร ธรรมราชา ธรรมาธิบดี ผู้ทรงเป็นธรรมประทีป ธรรม-
สรณะ ผู้ทรงหมุนล้อแห่งพระสัทธรรมอันประเสริฐ ผู้เป็นพระสัมมาสัม-
พุทธเจ้า
ท่านทั้งหลายไม่ควรทำความสงสัยหรือความแคลงใจ ในอรรถหรือ
ธรรมในบทหรือพยัญชนะนี้ ดังนี้ ชื่อว่า ยังความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาในธรรม
วินัยนี้ให้พินาศ ยังสัทธาสัมปทาให้เกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคาถา
ประพันธ์นี้ไว้ว่า

พระสาวกของพระโคดมเมื่อกล่าวว่า
เอวมฺเม สุตํ ดังนี้ ชื่อว่า ยังอศรัทธาให้
พินาศ ยังศรัทธาในพระศาสนาให้เจริญ.

ในที่นี้ อาจารย์บางท่านกล่าวว่า ก็เพราะเหตุไรในสูตรนี้ ท่านจึงไม่
กล่าวคำนี้ทานไว้เหมือนในสูตรอื่น ๆ ที่พระอานนท์กล่าวคำนิทานอ้างกาละเทสะ
(เวลาและสถานที่) ไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ เล่า. ตอบว่า
เพราะอาจารย์พวกอื่นได้กล่าวไว้ก่อนแล้ว. ก็คำนิทาน (ในสูตรนี้) พระ
เถระมิได้กล่าวไว้ เพราะมีผู้กล่าวไว้แล้ว. อธิบายว่า คำนี้ทานนี้ ท่าน
พระอานนท์มิได้กล่าวก่อน แต่นางขุชชุตตรา ผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแต่งตั้งไว้ในเอตทัคคะ เพราะในบรรดาอุบาสิกา นางเป็นพหูสูต เป็น
อริยสาวิกาได้บรรลุเสกขปฏิสัมภิทา กล่าวไว้ก่อนแล้วแก่สตรี 500 นาง
ซึ่งมีพระนางสามาวดีเป็นประมุข. ในเรื่องนั้น มีการเล่าไว้เป็นลำดับ ดังต่อ
ไปนี้

ประวัตินางขุชชุตตรา


ได้ทราบว่า นับจากนี้ไปในตอนท้ายแสนกัป พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่า ปทุมุตตระ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงประกาศพระธรรมจักร
อันประเสริฐ แล้วประทับอยู่ในเมืองหงสาวดี. อยู่มาวันหนึ่ง กุลธิดานางหนึ่ง
ในเมืองหงสาวดี ได้ไปยังอารามพร้อมกับอุบาสิกา ซึ่งกำลังไปเพื่อฟังเทศนา
ของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงแต่งตั้งอุบาสิกาคนหนึ่งไว้ในเอตทัคคะ
(ตำแหน่งที่เลิศกว่า) อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นพหูสูต จึงทำบุญแล้วปรารถนา
ฐานันดรนั้น.
ฝ่ายพระศาสดาก็ทรงพยากรณ์อุบาสิกานั้นว่า ในอนาคตกาล นาง